ซุบซิบ กะพริบข่าว โดยกระจิบข่าว

  • มหรรศจรรย์ แห่งดาวทะเล - ผลิตภัณฑ์ใหม่ มาลาบูกิ ตัวนิวท์ที่ถูกตัดขา และเส้นประสาท (ตำแหน่งดาวสีเหลือง) 2 ตัว ตัวที่ไม่ได้รับโปรตีน nAG (ซ้าย) จะไม่มีขาใหม่งอกออกมา ส่วนตัวที่ได้ร...
    14 ปีที่ผ่านมา

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สารสกัดจากบัวบก สุดยอดการแพทย์แผนไทย

สารประกอบหลัก ผลิตภัณฑ์ มาลาบูกิ



ใบบัวบก

ชื่อสามัญ : Asiatic Pennywort

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica (Linn.) Urban.

วงศ์ : UMBELLIFERAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก อยู่ในจำพวกผัก ลำต้นชอบเลื้อยไปตามพื้นดินที่ชื้นแฉะโดยทั่ว ๆ ไปขึ้นง่าย

ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อละ 2-10 ใบ มีลักษณะคล้ายรูปไต ใบกลมริมขอบใบจะเป็นจักเล็กน้อย

ดอก : จะออกเป็นช่อคล้ายร่ม เดี่ยว ๆ หรือมีประมาณ 2-5 ช่อหนึ่งมักจะมีประมาณ 3-4 ดอก ดอกจะเป็นสีม่วงอมแดง ก้านช่อดอกจะมีความยาวประมาณ 0.5-5 ซม. ริ้วประดับจะมีประมาณ 2-3 ใบ

เกสร : เกสรตัวผู้นั้นจะสั้น

ผล : จะมีลักษณะแบน มีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 3-4 มม.

การขยายพันธุ์ : โดยเมล็ด และไหล คือตัดแยกไหลที่มีต้นอ่อนและรากออกแล้ว จึงนำไปปลูกในที่ชื้น

แฉะ และต้องได้รับแสงแดดมากพอควร อีกไม่นานมันก็จะกระจายพันธุ์แพร่ไปเต็ม พื้นที่

ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใช้เป็นยา

สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้รักษาอาการช้ำใน เป็นยาบำรุงหัวใจและบำรุงกำลัง รักษาอาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า ขับปัสสาวะ เป็นยาขับโลหิตเสีย รักษาโรคผิวหนัง ใช้รักษาบาดแผล รักษามุตกิจ ระดูขาว รักษาพิษเนื่องจากถูกงูกัด และรักษาอาการเริ่มเป็นบิ ทำให้โลหิตแผ่ซ่าน รักษาอาการท้องร่วง นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ๆ เป็นยารักษาอาการร้อนในกระหายน้ำ
รักษาเด็กที่เป็นซางตัวร้อนและผอมแห้ง รักษาโรคปากเปื่อย ปากเหม็น เจ็บคอ น้ำลายไหล

อื่น ๆ : ใบบัวบกยังใช้เป็นอาหารต่างผักกินกับหมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ฯลฯ นอกจากนี้น้ำ ที่คั้นได้จากใบยังใช้เป็นเครื่องดื่มได้

ถิ่น ที่อยู่ : พรรณไม้นี้ เป็นพรรณไม้ในเขตร้อน พบขึ้นตามที่ชื้นทั่ว ๆ ไป ข้อมูลทางคลีนิคและทางเภสัชวิทยา : 1. มีฤทธิ์ในการลดอาการอักเสบ โดยการนำเอาใบบัวบกที่อยู่เหนือดินมากิน จะสามารถลดอาการอักเสบได้

2. จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็ง โดยใช้น้ำคั้นสด ๆ ของบัวบกจะมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้สารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ ยังสามารถยังยั้งเซลล์มะเร็งชนิด CA-9KB ได้ผล

3. มีฤทธิ์ในการสมานแผล โดยการนำเอาสารที่สกัดของบัวบก ที่เรียกว่า madecassol และสารที่สกัดได้จากบัวบก คือ madecassic acid, asiatic acid และ asiaticoside ซึ่งเป็นสารเคมีพวกไตรเทอร์ปีน (triterpene) ไปใช้สำหรับทาภายนอก เพื่อรักษาแผลในหนูขาว พบว่าสามารถทำให้แผลนั้นหายเร็ว

4. ฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา เนื่องจากบัวบกเป็นยารักษาโรคผิวหนัง จึงได้นำไปทดลองกับเชื้อกลาก (Trichophytum mentagrophytes และ T.rubrum) จะสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อกลากได้ดี

5. มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยใช้สารสกัดจากบัวบก ทั้งต้นด้วยน้ำร้อนกับเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุของการเกิดหนองคือ Staphylococcus aureus พบว่าได้ผลดี และยังมีผู้นำเอาอนุพันธุ์ของ asiaticoside ที่ได้จากบัวบกคือ oxyasiaticoside นำไปทดลองกับเชื้อวัณโรค พบว่าสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรคได้ และได้นำไปทดลองกับหนูตะเภา ซึ่งทำให้เป็นวัณโรคก่อนแล้วจึงฉีดสารละลาย asiaticoside พบว่าสามารถลดปริมาณ แผลที่เกิดจากเชื้อวัณโรคใน ตับ ปอด ปมประสาท และม้ามได้

6. มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง โดยการนำเอาสารที่สกัดชนิดต่าง ๆ ของใบบัวบก นำไปทดลองจะมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง และได้พบว่าสารที่สกัดด้วยปิโตรเลียมอีเธอร์ ยังสามารถฆ่าตัวอ่อนของแมลง Pieris rapae cruciflora ส่วนสารสกัดได้จากบัวบกด้วยน้ำร้อนฆ่าแมลงสาบอเมริกันได้แต่ไม่สามารถฆ่า แมลงสาบเยอรมันได้

7. มีฤทธิ์ต่อระบบสืบพันธุ์ เมื่อฉีดสารสกัดจากใบบัวบกนั้น เข้าใต้ผิวหนังของหนูถีบจักรตัวละ 0.2 ซี.ซี. จะมีผลในการยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน และเมื่อให้น้ำคั้นจากบัวบกทั้งต้น พบว่าได้ผลคุมกำเนิดในหนูถีบจักรได้ ส่วนสารชาโปนินที่ได้จากบัวบก นำไปทดลองกับเชื้ออสุจิ พบว่าไม่มีผลต่อเชื้ออสุจิ

8. มีฤทธิ์ในการลดอาการแพ้ สารที่สกัด จากใบบัวบกด้วย แอลกอฮอล์ผสมน้ำ 1:1 จะสามารถต้านอาการแพ้ได้ผล

9. มีฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อเรียบ สารที่สกัดได้จากใบบัวบกด้วยแอลกอฮอล์ผสมน้ำ 1:1 จะสามารถลดการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้ของหนูตะเภาได้ ส่วนสารที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ จะสามารถทำให้กล้ามเนื้อเรียบของลำไส้กระต่ายตอนบนคลายตัว และยังลดการเกร็งของกล้ามเนื้อมดลูกในหนูขาวซึ่งไม่ได้ตั้งครรภ์

10. มีฤทธิ์ลดความดันเลือด สารที่สกัดได้จากใบบัวบกด้วยแอลกอฮอล์ผสมกับน้ำ 1:1 ช่วยลดความดันเลือดในหนูขาว และเมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำจะไม่มีผลลดความดันโลหิตในสุนัข แต่ถ้าฉีดสารที่สกัดนี้เข้าไปในหลอดเลือดดำสุนัขในขนาดประมาณ 50 มก./กก. จะได้ผลลดความดันเลือด

11. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยฉีดสารที่สกัดได้จากบัวบกด้วยแอลกอฮอล์เข้าไปในช่องท้องของหนูขาวพบว่ามี ฤทธิ์ในการเป็นยาระงับประสาท และ Ramaswamy พบว่ามีฤทธิ์เช่นเดียวกันในหนูถีบจักร เมื่อให้สารสกัดไตรเทอปินอยด์ไกลโคไซด์ (Triterpenoid glycoside) ฉีดสารที่สกัดได้นี้ เข้าทางหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจกระต่าย ส่วนการฉีดเข้าหลอดเลือดดำในสุนัขโดยตรง จะพบว่าไม่มีฤทธิ์เป็นยาระงับประสาท แต่เมื่อฉีดสารสกัดนี้เข้าในช่องท้องหนูขาว จะมีฤทธิ์ในการกดประสาท ส่วนการใช้สารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์ 1:1 จะไม่ได้ผลทั้งกระตุ้นหรือกดประสาท หรือมีฤทธิ์ในการรักษาอาการปวด เพราะว่ามีสิ่งปนปลอมในสารที่สกัดมาก็ได้ และเมื่อฉีดสารสกัดอัลคาลอยด์แก่หนูขาวทางช่องทางนั้น จะไปเสริมฤทธิ์ยานอนหลับประสาทบาร์บิทิวเรท (barbiturate) และช่วยต้านฤทธิ์ยากระตุ้นประสาทชนิดแอมเฟตามีน (amphetamine) โดยมีผลเท่า ๆ กับยาคลอโปรมาซีน (chlorpromazine) ส่วนในประเทศไนจีเรีย ได้มีผู้ทำการทดลองฉีดสารสกัดบัวบก ด้วยแอลกอฮอล์เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร แต่ไม่สามารถต่อต้านโรคพาร์กินซัน (parkinson is disease)

12. มีฤทธิ์ช่วยลดไข้ เมื่อฉีดสารที่สกัดได้จากใบบัวบกด้วยแอลกอฮอล์ เข้าทางช่องท้องหนูขาว จะสามารถลดไข้ได้ประมาณ 1.2 ฐF และเมื่อฉีดสารสกัดด้วยน้ำและแอลกอฮอล์เข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร จะไม่ได้ผลเลย

13. มีฤทธิ์ในการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทาน เมื่อให้ผงใบ และต้นบัวบก ในรูปยาแขวนตะกอน (suspension) แก่หนูถีบจักรเพศเมีย จะได้ผลดี แต่ถ้าใช้สารสกัดด้วย เมทธานอลจะไม่ได้ผลเลย และนอกจากนี้ยังมีผู้พบฤทธิ์อื่น ๆ คือ มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำตาลในเลือดหนูขาว
เมื่อให้กินสารสกัดแอลกอฮอล์และน้ำจะมีฤทธิ์ต่อหัวใย

14. มีฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร โดยใช้สารที่สกัดได้จากผลแห้ง ให้คนไข้ทั้งชายและหญิงกิน และฉีดเข้ากล้าม เมื่อส่องกล้องดูแผล จะพบว่าแผลนั้นหายเป็นปรกติ ซึ่งฤทธิ์ในการรักษาแผลในกระเพาะอาหารนี้ ได้รับการสนับสนุนโดยงานของ Cho และพบว่าใช้ได้ผลและผลจะดีขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับยาลดกรด และยา cimetadine ซึ่งเป็นยาลดการหลั่งกรด

หมายเหตุ : "บัวบก (ไทย) ; ผักหนอก (พายัพ) ; ผักแว่น (ใต้)." In Siam. Plant Names, 1948, p.108. "บัวบก น. ผักหนอก ไม้ชนิดหนึ่งเกิดตามป่า มีหัวและใบคล้ายใบบัว." พจน.2493, น. 535. Hydrocotyle asiatica Vanpruk, 1923, p.163. "บัวบก."



พจนานุกรม สมุนไพรไทย ดร.วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น